จะปลูกไม้ป่า ไม้พยุง แนะนำเลือกต้นกล้าแก่ แข็งแรง อายุมากไว้เป็นต่อ ถ้าอายุต้นกล้าไม่มาก อายุต้นพันธุ์ไม่ถึงปี โอกาสรอดยาก จะปลูกพยุงหรือไม้ป่าต่างๆ ต้องรากดี
พยุงเป็นไม้ป่า ขึ้นได้ทุกสภาพอากาศและ ทุกภูมิภาคของไทย ลำต้นและใบคล้ายต้นมะค่าโมงและต้นมะดู่ ส่วนต้นมะดู่ก็คล้ายและเหมือนกับต้นประดู่เช่นเดียวกัน บางคนอาจเข้าใจผิดว่า มะดู่และประดู่เป็นชนิดเดียวกัน
แต่ต้นมะดู่ จะหมือนกับพยุงมาก ถ้าไม่คลุกอยู่กับไม้ป่า จะดูไม่ออก บางคนเก็บเมล็ดมะดู่มาเพาะพันธุ์ คิดว่า เป็นพยุงก็มีเยอะครับ ดังนั้นเวลาเลือกหาต้นพันธุ์มาปลูก ท่านต้องดูและศึกษาให้ดีครับ จะซื้อต้นพันธุ์พยุงไปปลูก แต่กลับได้ต้นมะดู่ไปแทน ซึ่งถ้าเกิดเหตุการเช่นนี้ ท่านจะเสียเวลาไปหลายสิบปี
ย้ำเตือนต้นมะดู่และประดู่ เป็นคนละชนิดกัน แต่ไม้ทั้งสองชนิดนี้ คล้ายหรือเหมือนใกล้เคียงกับไม้พยุงมาก เพียงแต่ต้นมะดู่จะเหมือนกับต้นพยุงมากกว่า ยิ่งถ้าดูต้นกล้าเล็กๆแล้ว ดูไม่ออกครับว่าเป็นพยุงหรือมะดู่ ไม่ต่างอะไรกับมะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้มีเบอร์4 น้ำดอกไม้มัน น้ำดอกไม้สีทอง จะทราบอีกทีเมื่อ มะม่วงออกผลแล้วเท่านั้นว่า ไช่พันธุ์ที่เราต้องการหรือไม่
ดังนั้นไม้ที่ผมกล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นพยุง มะค่าโมง มะดู่ ประดู่ ซึ่งจะอยู่ในวงศ์เดียวกันทั้งหมดครับ เช่นเดียวกับ ต้นมะริด ก็จะอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ตะโกนาและไม้มะเกลือ ลำต้นดำ เป็นต้น
การเลือกกล้าไม้พยุง สำหรับปลูกป่า หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนาของท่าน ท่านจะต้องเลือก ต้นกล้าที่มีอายุมาก โดยมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เพราะจะทำให้ต้นพยุงเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นพันธุ์ที่มีอายุไม่ถึงปีครับ เลือกลำต้นใหญ่ๆ เท่านิ้วก้อยเด็กหรือด้ามปากกาก็ได้ครับ
ต้นกล้าไม้พยุงอยู่กลางแดด กลางแจ้ง ดีกว่าต้นพันธุ์อยู่ในโรงเรือน ต้นกล้าพยุงถ้าอยู่ในโรงเรือนลำต้นจะอ่อนแต่ใบจะสวย ถ้านักปลูกต้นไม้ทั่วไปเขาถือว่า “เป็นไม้ที่อ่อนแอ” ไม่แข็งแรง เมื่อเอาออกไปปลูกกลางแดดสักพักใบก็ใหม้แล้วครับ แต่ต้นพันธุ์อยู่กลางแจ้งใบไม่สวยแต่ลำต้นแกร่ง ดังนั้นคุณต้องเลือกเอาเองครับ จะเอาไม้ที่แข็งแรง หรือไม้ที่อ่อนแอ ไม่มีใครบังคับคุณได้ครับ
อยากปลูกป่า โทรไปปรึกษา ศูนย์เพาะพันธุ์ไม้ป่า อุ่ทอง สุพรรณบุรีได้ครับ 0815582320
รายละเอียดเพิ่มเติม ไม้ป่าไทย ท่านสามารถเข้าไปชมได้ที่เวปศูนย์เพาะพันธุ์ไม้ไทย http://everysale.thaicentralgarden.com/everysale/index.php?route=product/category&path=61
เอกสารอ้างอิง: พันธุ์ไม้ป่าเมืองไทย โดย ศ.ดร.เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชียวชาญทางพฤกษศาสตร์ไม้ป่าไทย, Thai Forest Bulletin of Thailand ของกรมป่าไม้